ปั๊มพ์น้ำมันเชื้อเพลิงของรถ กอล์ฟ/เวนโต้ ทำหน้าที่สร้างแรงดันเพื่อส่งให้น้ำมันเชื้อเพลิงไหลออกจากถังไปตามท่อ เพื่อไปจ่ายยังชุดหัวฉีดในห้องเครื่องยนต์ ตัวปั๊มพ์ติดตั้งอยู่ในถังน้ำมันเชื้อเพลิงที่ด้านท้ายของรถ โดยมอเตอร์ปั๊มพ์ถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานได้ในสภาพที่จมอยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิงตลอดเวลา ( Submersible ) คล้ายๆ กับปั๊มพ์น้ำ ไดรโว่ ชนิดที่เอาลงไปวางที่ก้นบ่อเลี้ยงปลาได้นั้นเอง ปั๊มพ์น้ำมันเชื้อเพลิงประกอบด้วยสองส่วนใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
ส่วนที่หนึ่งคือตัวมอเตอร์ปั๊มพ์ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกโลหะ ภายในเป็นมอเตอร์และใบพัด ทรงกระบอกนี้ประกอบอยู่ในโครงพลาสติกสีขาวอีกชั้นหนึ่ง โดยทั้งหมดนี้จะจมอยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งที่ก้นถังน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีเขี้ยวสำหรับล็อคโครงพลาสติก ให้ยึดติดแน่นอยู่ในระดับก้นถังตลอดเวลา
ส่วนที่สองคือชุดฝาปิดถังน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งด้านบนภายนอกถังจะเป็นส่วนที่มีท่อจ่ายน้ำมันและท่อรับน้ำมันไหลกลับจากชุดหัวฉีด รวมทั้งปลั๊กเสียบสายไฟ และด้านล่างภายในถังเป็นที่ติดตั้งของอุปกรณ์วัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิงที่คงเหลืออยู่ในถัง
ชุดฝาปิดนี้จะถูกอัดให้ติดแน่นอยู่กับปากถังน้ำมันด้วยวงแหวนเกลียวล็อคและมีซีลยางกันน้ำมันรั่วซึมที่บริเวณรอยต่อของฝาปิดกับปากถัง
ระหว่างส่วนแรกกับส่วนที่สองจะเชื่อมกันด้วยท่อ 2 ท่อ และ สายไฟ 4 เส้น โดยความยาวท่อและความยาวสายไฟจะเผื่อเอาไว้หลวมๆ ให้สะดวกในการถอดประกอบ ปัญหาที่เกิดกับรถของผม ซึ่งทำให้ต้องรื้อชุดปั๊มพ์นี้ออกมา ก็คือเข็มวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในหน้าปัทม์รถอ่านค่าผิดพลาด เมื่อไปเติมน้ำมันเต็มถัง เข็มจะอ่านค่าได้แค่ 1/4 ถัง และพอขับไปสักพัก มันก็จะชี้ที่ขีดแดงอยู่เป็นประจำ ทำให้เวลาเดินทางไกลต้องคอยผวาแวะเติมน้ำมันอยู่เรื่อยๆ เพราะไม่แน่ใจว่าน้ำมันจะหมดถังจริง ๆ แล้วหรือยัง
โชคดีที่มีผู้ใจบุญซึ่งเพิ่งเปลี่ยนปั๊มพ์น้ำมันเชื้อเพลิงตัวใหม่ คือคุณม้า แห่ง VW-Thai ได้บริจาคซากปั๊มพ์พ์ตัวเก่ามาให้ศึกษา ในกรณีของคุณม้าที่ต้องเปลี่ยนปั๊มพ์ ก็เนื่องจากตัวปั๊มพ์ชำรุดอ่อนแรงลง ตามสภาพการใช้งานมานานเกินกว่า 200,000 กม. จนไม่สามารถสร้างแรงดันเชื้อเพลิงได้สม่ำเสมอเพียงพอกับความต้องการของเครื่องยนต์ ซึ่งซากที่ตกมาถึงมือผมนั้น เมื่อได้ทดลองต่อไฟฟ้าขนาด 6 โวลท์ จากถ่านไฟฉาย 4 ก้อน ก็พบว่ามันยังสามารถหมุนได้เอื่อยๆ และมีเศษผงโลหะหลุดร่วงลงมา แต่เมื่อสอบถามเรื่องการทำงานของเข็มวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง คุณม้า ก็ยืนยันว่าก่อนที่จะเปลี่ยนปั๊มพ์มันยังใช้การได้ดีอยู่
ผมจึงมีความคิดที่จะสลับอวัยวะ โดยการถอดปั๊มพ์น้ำมันเชื้อเพลิงในรถของผมออกมา แล้วสลับอุปกรณ์วัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง กับอุปกรณ์ชุดที่ติดกับซากปั๊มพ์ของคุณม้า อุปกรณ์ชุดนี้มีลักษณะเป็นลูกลอยคล้ายกับกลไกในส้วมชักโครก โดยลูกลอยที่ปลายแขนจะเคลื่อนที่ตามระดับน้ำมันที่คงเหลือในถัง และการเคลื่อนที่จะบังคับให้ชุดความต้านทานแบบปรับค่าได้ ที่ติดอยู่ใกล้กับจุดหมุนของแขน ปรับค่าไปยังตำแหน่งต่างๆ กัน และส่งค่านั้นไปยังเข็มแสดงผลที่หน้าปัทม์รถ ตัวกลไกชุดลูกลอยจะเสียบติดกับด้านล่างของฝาปิดถังน้ำมันเชื้อเพลิง ยึดติดด้วยสลักล็อค สามารถปลดออกได้ และค่าความต้านทานจากอุปกรณ์วัดระดับ จะอ่านผ่านสายไฟเส้นเล็กๆ สองเส้น ที่บัดกรีติดกับขั้วใต้ชุดฝาปิด ซึ่งจะต้องใช้หัวแร้งบัดกรีจี้ให้ละลายออกมา
ขั้นตอนการถอดปั๊มพ์น้ำมันเชื้อเพลิง มีดังต่อไปนี้
ขอให้โชคดีนะครับ
คำบรรยายภาพ
![]() |
ที่เห็นกองเขละ อยู่นี่คือปั๊มพ์น้ำมันเชื้อเพลิงทั้งระบบที่ถอดออกมาแล้ว ฝาดำๆ ข้างบนที่มีท่อโลหะ 2 ท่อ คือชุดหัวกระสือ ซึ่งจะเป็นฝาปิดถังน้ำมันด้านบน ส่วนโครงพลาสติกสีขาวและอุปกรณ์อะไรสักอย่างที่กองอยู่ข้างหลัง ก็คือชุดไส้กระสือ ซึ่งจะจมอยู่ในถังน้ำมัน และถูกน้ำมันท่วมอยู่ตลอดเวลา ระหว่างหัวกับไส้ จะเชื่อมกันด้วยท่อและสายไฟยุ่งๆ ดังในภาพ |
![]() |
ในชุดไส้กระสือ สามารถถอดโครงพลาสติกแยกออกมาได้เป็นสองส่วน ส่วนล่างจะมีเขี้ยวล็อค ยึดติดแน่นกับก้นถังน้ำมัน ส่วนบนที่มือประคองเอาไว้ และเห็นกระบอกโลหะอยู่ภายใน เมื่อประกอบลงไปแล้วจะขยับตัวได้เล็กน้อย โดยมียางรูปตัวโอใหญ่ๆ สีดำ ตามในภาพ ทำหน้าที่เป็นตัวกันสะเทือนเวลารถวิ่ง ส่วนที่เป็นมอเตอร์ปั๊มพ์จะอยู่ในทรงกระบอกโลหะนั่นแหละครับ |
![]() |
นี่คือด้านล่างของชุดหัวกระสือ ท่อสีน้ำตาล 2 ท่อนั้น ท่อหนึ่งต่อมาจากมอเตอร์ปั๊มพ์ ทำหน้าที่จ่ายน้ำมันออกไปให้ชุดหัวฉีด ส่วนอีกท่อหนึ่งรับน้ำมันส่วนเกินจากหัวฉีดเอามาปล่อยคืนกลับถัง สายไฟสีดำกับสีน้ำตาลนั่นสำหรับจ่ายไฟตรง 12 Volt ให้มอเตอร์ปั๊มพ์ ส่วนขั้วสายอีก 2 ขั้วระหว่างสายไฟทั้งสองเส้น มีเอาไว้ต่อสายไฟไปยังชุดอุปกรณ์วัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ( ซึ่งในภาพผมได้ตัดออกแล้ว และจะต้องบัดกรีเข้าไปใหม่ก่อนประกอบกลับ ตามรายละเอียดในเรื่อง ) |
![]() |
ภาพนี้คือด้านล่างของกระบอกโลหะอันเป็นตัวเรือนของมอเตอร์ปั๊มพ์ ที่ลูกศรชี้คือใบพัดปั๊มพ์ ซึ่งเมื่อมันหมุนทำงาน ก็จะดูดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าทางรูนี้ และอัดแรงดันผ่านท่อออกไปทางชุดหัวกระสือ มอเตอร์ปั๊มพ์ที่พัง เคยพบว่าสาเหตุหนึ่งมาจากชิ้นส่วนใบพัดหัก และเศษชิ้นส่วนเข้าไปติดขัดขวางการหมุนของมอเตอร์ คุณไก่ ได้แนะนำเทคนิคการเอาตัวรอด ในกรณีปั๊มพ์ขัดข้องกลางทาง โดยการถอดเอาปั๊มพ์ออกมาแล้วเคาะด้านข้างของกระบอกมอเตอร์ เผื่อว่าอะไรที่ติดขัดมันจะหลุดร่วงลงมาแล้วปั๊มพ์มันจะหมุนต่อได้อีกสักพัก ซึ่งอาจจะพอวิ่งกลับถึงบ้านได้ |
![]() |
ภาพนี้คือชุดอุปกรณ์วัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งผมได้ตัดออกมาจากชุดไส้กระสือ ที่ปลายแขนทางด้านขวาซึ่งเห็นเป็นก้อนดำๆ นั้นคือลูกลอยซึ่งจะพยายามลอยตัวเหนือระดับน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ในถัง คล้ายๆ กับกลไกลูกลอยในส้วมชักโครก ซึ่งลูกลอยจะบังคับให้แขนหมุนทำมุมต่างๆ กันตามระดับน้ำมันเชื้อเพลิงที่แสดงให้ดู |
![]() |
ภาพนี้ซูมเข้ามาดูที่จุดหมุนของแขนลูกลอย ตรงลูกศรสีเหลืองคือแถบความต้านทานที่จะส่งค่าต่างๆ กันกลับออกไปตามสายไฟที่เห็นในภาพ ซึ่งค่าความต้านทานนี้ จะถูกคำนวณและแสดงผลที่เกจ์วัดระดับน้ำมันที่หน้าปัทม์รถ ในกรณีที่เกจ์แสดงค่าผิดพลาด เช่นเติมน้ำมันเต็มถังแล้วเข็มไม่ยอมขึ้นหรือขึ้นนิดเดียวไม่ได้สัดส่วน ถ้าหากตัวเกจ์ไม่ชำรุด ก็เป็นเจ้าตัวในภาพนี้แหละครับที่ชำรุด ที่บริเวณปลายลูกศรจะสังเกตเห็นร่องรอยการสึกหรอของแถบโลหะ ซึ่งขูดขีดเป็นรอยเนื่องจากถูกใช้งานมานานเต็มทน |